ไบเดน พร้อมด้วยตัวแทนจากพรรคเดโมแครตและริพลับลิกัน ร่วมลงนามเซ็น กฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ถือคริปโตหวั่นต้องแจ้งภาษีกับรัฐด้วย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน สำนักข่าว CNN รายงานว่า นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนาม บังคับใช้ กฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือมูลค่า 39 ล้านล้านบาท ถือเป็นกฎหมายเพื่อการปรับปรุงยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีมูลค่าสูงสุดของอเมริกาในช่วงเวลากว่าครึ่งศตวรรษ
โดยกฎหมายฉบับนี้จะจ่ายเงินให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐฯมูลค่า 18 ล้านล้านบาท
เพื่อแก้ไขสาธารณูปโภคของประเทศในช่วงห้าปีถัดจากนี้ ทั้งถนน ทั้งสะพาน ระบบพลังงานต่างๆ ขยายการเข้าถึงบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตสำหรับชาวอเมริกัน แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการสร้างงานให้ประชาชนด้วย
อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับดังกล่าวถูกจับตาเป็นอย่างมาก หลังจากที่ สำนักงานงบประมาณรัฐสภา หรือ CBO ออกมาเปิดเผยว่า กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลให้การรายงานภาษีผ่านไป ซึ่งผู้ที่เข้ารายงานภาษีจะต้องแสดงถึงค่าเงินสกุลดิจิตัล หรือ การใช้จ่ายต่างๆที่ผ่านค่าเงินดิจิตัลด้วย
โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อที่รัฐบาลจะสามารถจ่ายเม็ดเงินมหาศาลที่เป็นค่าใช้จ่ายจากกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานนอกจากนี้ทางรัฐบาลจะพยายามนำเงินเยียวยาโควิดที่ไม่ได้ใช้มาร่วมสมทบทุนครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้การลงมติเป็นไปอย่างชื่นมื่น หลังจากที่มีตัวแทนจากสองพรรคใหญ่เข้าร่วมการลงนามครั้งนี้ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนักในวงการการเมืองสหรัฐฯ
คุณเลิกเป็นเพื่อนกับคนที่ไม่รู้จักไปกี่คนแล้ว ? เนื่องในโอกาสครบรอบวันอันเฟรนด์ ขอพาไปทำความรู้จักกับที่มาของวันแห่งการลบบัญชีเพื่อนบนเฟซศบุ๊กให้มากขึ้น คุณมีเพื่อนที่วันๆ ไม่เคยเจอหน้ากันเลย แต่พอมีเรื่องเดือดร้อนก็ทักอินบ็อกซ์มาขอยืมเงินคุณหรือไม่ ?
หรือ เพื่อนที่วันๆ เอาแต่บ่นเรื่องต่างๆนานา สร้างความท็อกซิก (Toxic) บนหน้าสื่อโซเชียลให้กับคุณอยู่บ่อยๆ ทีมงาน The Thaiger อยากจะบอกว่าวันนี้เป็นโอกาสดีที่คุณจะได้กำจัดพวกเขาเหล่านี้ออกจากวงจรชีวิตโซเชียลของคุณเสียที
“วันอันเฟรนด์” (National Unfriend Day) หรือวันที่เชิญชวนให้ผู้คน “ลบเพื่อน” ที่ไม่พึงประสงค์บนโซเชียลมีเดียทิ้งไป เพื่อคัดกรองให้เหลือแต่เพื่อนที่เรารู้จัก รักและห่วงใยเราจริงๆ เท่านั้น
โดยวันอันเฟรนด์นี้ ริเริ่มขึ้นโดย จิมมี คิมเมล พิธีกรรายการทีวี และนักแสดงตลกชื่อดัง ซึ่งเรียกร้องให้ชาวโซเชียลหันมาอันเฟรนด์ (Unfriend) เพื่อนไม่พึงประสงค์ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2010 ก่อนจะแพร่หลายกลายเป็นธรรมเนียมประจำปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สำหรับความตั้งใจเริ่มแรกของคุณจิมมีนั้น เนื่องจากต้องการต่อต้านเทรนด์โซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะกับเฟซบุ๊กที่ในเวลานั้นผู้คนต่างขยันกดปุ่ม “เพิ่มเพื่อน” โดยไม่สนใจเลยว่าเพื่อนจำนวนหลักร้อยหลักพันที่เพิ่มเข้ามานั้นคือคนที่รู้จักกันจริงๆ หรือเปล่า
ภารกิจวันอันเฟรนด์นี้ ต้องทำอะไรบ้าง ?
เริ่มจากคุณลองทบทวนเพื่อนในเฟซบุ๊กที่คุณมี ณ ตอนนี้ทีละคนและค้นหาว่าใครที่สำคัญกับคุณจริงๆ เพื่อนสมัยมัธยมที่คุณเคยคุยกับเขาครั้งสุดท้ายตอนทำทดลองในชั่วโทงมงวิทยาศาสตร์์ ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งตอนแรกนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อยที่จะทำการลบเพื่อนออกไป แต่จากนั้นในบางเวลาคุณจะรู้สึกถึงสิ่งที่ดีขึ้น ดังคำที่ว่า “คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ”
ไม่ว่าตอนนี้คุณกำลังไถหน้าฟีดโทรศัพท์มือถือ หรือ นั่งเปิดเฟซบุ๊กอยู่บนหน้าคอมพิวเตอร์ หากคุณมีเวลาว่าง ขอให้คุณปิดหรือชักปลั๊กคอมพิวเตอร์ในชั่วโมงที่คุณมีเวลาว่างจริงๆ แล้วออกไปหาเพื่อนของคุณแบบเห็นหน้า พบเจอทักทายกันแบบตัวเป็นๆ ชวนกันไปทานข้าว หรือดูหนังกับเพื่อนที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข ไม่ใช่เพื่อนที่มากดไลค์คุณบนหน้าโปรไฟล์เฟซบุ๊กของคุณเท่านั้น
สำหรับคนที่ยังแยกความสัมพันธ์กับเพื่อนแลัธุรกิจไม่ออก ทางเลือกของ LinkedIn แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวที่เน้นไปในด้านอาชีพและธุรกิจ คือ คำตอบนั้น คุณจะสามารถลบบัญชีคนรู้จักในเฟซบุ๊กซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่เพื่อนแต่เป็นคนที่คุณรู้จักในการทำงานมาอยู่ในแพลตฟอร์มนี้ ในกรณีที่คุณไม่กล้าตัดสินใจลบบัญชีของบุคคลเหล่านี้ออกจากเพื่อนในเฟซบุ๊กอย่างสิ้นเชิง
ทั้งนี้ หากต้องการขอรับข้อมูลเพื่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งงาน สามารถสอบถามได้ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ที่หมายเลข 02247 9423 หรือ สายด่วน 1560 กด 2 หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกแห่ง และหากประสบปัญหาในต่างประเทศ สามารถติดต่อ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ หรือ Call Center กรมการกงสุล หมายเลข 02 572 8442 ได้ตลอด 24 ชม.
ล่าสุด นายอนันต์ศักดิ์ ภูผลพัน ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี กล่าวว่า ทางโรงเรียนได้ทราบเรื่องแล้ว และได้รายงานผลการสอบสวนในประเด็นดังกล่าวแล้ว จากการตรวจสอบพบว่าครูเป็นผู้สั่งลงโทษนักเรียนด้วยการลุกนั่ง 200 ครั้งจริง เพื่อลงโทษเด็กนักเรียนที่โดดเรียน แต่การลงโทษด้วยการสั่งทำท่าลุกนั่งนั้น ถือเป็นการลงโทษที่ไม่อยู่ในระเบียบของสถานศึกษา จึงถือเป็นการทำผิดวินัยของครูผู้สั่งลงโทษ และ จะได้มีการเอาผิดทางวินัยกับครูผู้สั่งลงโทษต่อไป
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป