พบ “กุ้งเต้น” (amphipod) ชนิดใหม่ของโลก ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และยังไม่มีรายงานในบริเวณอื่นในโลก ทีมนักวิจัยภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ได้ค้นพบ “กุ้งเต้น” ชนิดใหม่ของโลก บริเวณหน้าอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริและสระน้ำโรงอาหารกลาง (บาร์ใหม่) ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังไม่มีรายงานในบริเวณอื่นในโลก
กุ้งเต้นคงเสมา (Floresorchestia kongsemae) ชนิดใหม่ของโลก
เป็นสัตว์ในซับไฟลัมครัสเตเชียน คือกลุ่มเดียวกับกุ้ง ปู แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวแบนข้าง มีขาเดิน 7 คู่ ต่างจากกุ้งที่เรารู้จักกันที่มีขาเดิน 5 คู่ โดยปกติจะพบอาศัยในทะเลและน้ำจืด กุ้งเต้นที่พบอยู่ในวงศ์ Talitridae เป็น กลุ่มที่วิวัฒนาการปรับตัวให้มาอาศัยอยู่บนบกได้ แต่ยังมีลักษณะความเป็นสัตว์น้ำอยู่ คือหายใจด้วยเหงือก จึงมักพบอาศัยอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะที่มีการรบกวนของ
หน้าดินน้อย
โดยปกติ กุ้งเต้น จะกินซากใบไม้ที่อยู่ริมฝั่งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร การกัดกินอาหารของกุ้งเต้น ดังกล่าว จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและช่วยหมุนเวียนสารอาหาร นอกจากนี้ กุ้งเต้นยังเป็นอาหารของนกที่พบหากินบริเวณริมน้ำ อีกด้วย
ลักษณะสำคัญของกุ้งเต้นคงเสมา (Floresorchestia kongsemae) ซึ่งเป็นกุ้งเต้นชนิดใหม่ของโลกนั้น บริเวณปากส่วนฟัน mandible lacinia mobilis ด้านซ้ายมีฟัน 5 ซี่ ก้ามคู่ที่ 2 มีส่วนฝ่ามือยาว 33% และมีหนามที่ปลายหางส่วน telson ข้างละ 4 หนาม
ถูกค้นพบโดยทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกของภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ นายอโณทัย สุขล้อม อ.ดร.พัชร ดนัยสวัสดิ์ และอ.ดร. กรอร วงษ์กำแหง
โดยตั้งชื่อกุ้งเต้นชนิดใหม่ของโลก ว่า กุ้งเต้นคงเสมา เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อ.ดร.เมษยะมาศ คงเสมา อาจารย์ประจำภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้มีส่วนช่วยในการเก็บตัวอย่างและวางแนวทางการศึกษาชีววิทยาของกุ้งเต้นชนิดใหม่ตัวนี้มาตั้งแต่ปี 2017 และอาจารย์ได้เสียชีวิตไปเมื่อเดือนมกราคม 2564
ทีมวิจัยจึงได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติและเพื่อเป็นการระลึกถึง อ.ดร.เมษยะมาศ คงเสมา ที่ให้ความช่วยเหลือในงานวิจัย และคุณูปการที่ทำให้กับภาควิชาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เสมอมา
27 เม.ย. Super Full Moon ดวงจันทร์ใหญ่ที่สุดในรอบปี
ซูเปอร์ฟูลมูน – พรุ่งนี้ 27 เม.ย. 64 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ความพิเศษของข้างขึ้นรอบนี้ คือ ปรากฎการณ์ ‘Super Full Moon’ หรือ ‘ซุปเปอร์ฟูลมูน‘
ปรากฎการณ์ Super full moon เป็นปรากฎการณ์ที่มองได้ด้วยตาเปล่า มองขึ้นไปบนท้องฟ้า จะเห็นพระจันทร์เต็มดวงที่มีดวงโตกว่าขนาดปกติ อันเป็นผลจากวงโคจรของดวงจันทร์รอโลก ที่วนมาใกล้โลกที่สุดในรอบปี โดยมีระยะทาง 357,370 กิโลเมตร ซึ่งโดยปกติแล้ว ระยะห่างโลกกับดวงจันทร์ อยู่ที่ 384,400 กิโลเมตร
ทั้งนี้ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการโคจรของดวงจันทร์ต่อโลกว่า การโคจรเป็นลักษณะวงรี โคจร 1 รอบใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ส่วนที่ดวงจันทร์โคจรมาใกล้โลกที่สุด เรียก เปริจี (Perigee) และจุดที่ไกลที่สุดเรียก อะโปจี (Apogee)
ดังนั้น หากคืนพรุ่งนี้ฟ้าเปิด The Thaiger ขอเชิญชวนคนที่ Work From Home อยู่บ้าน แหงนหน้าขึ้นท้องฟ้า มองจันทราดวงโตสุดสวย อาจพอช่วยเยียวยาจิตใจจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ และโควิดช่วงนี้ได้สักครู่สักยามก็ยังดี
ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรม น้ำยาบ้วนปาก จากสารสกัดข้าวไทย เพื่อผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาโรคในช่องปาก และต่อยอดนวัตกรรมเพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ
(ม.มหิดล, น้ำยาบ้วนปาก) จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยสูงอายุมักมีคราบจุลินทรีย์เกาะที่ง่ามรากฟัน ซึ่งทำความสะอาดได้ยากมากกว่าผู้ป่วยปกติ นอกจากการแปรงฟัน เหงือก และลิ้นแล้ว การใช้น้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสม ร่วมกับ การขูดหินน้ำลาย และเกลารากฟัน
การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และต้านการอักเสบ ร่วมกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน จึงเป็นความหวังใหม่ในการป้องกันและบรรเทาโรคดังกล่าว
กว่า 10 ปีที่ได้ทุ่มเทศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนานวัตกรรมน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดข้าวไทยอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ
โดยได้มีความร่วมมือกับ ทันตแพทย์หญิงจินตนา โพคะรัตน์ศิริ และทีมงานผู้วิจัย รวมถึงภาคเอกชนช่วยผลักดันสู่ตลาด รองศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิงศรัญญา ตันเจริญ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป